วันพุธที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

บทที่ 2
ประวัติศาสตร์การท่องเที่ยวจากยุคเริ่มต้นถึงช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2





นักท่องเที่วชาวกรีกมีการเดินทางเพื่อท่งเที่ยวประมาณ 300 ปีก่อนคริสตกาล หรือ 2300 ปีมาแล้ว จะนิยมเดินทางไปยังสถานที่ที่เชื่อว่าเป็นสิ่งสถิตของเทพเจ้าที่ทำการบำบัดรักษาโรค ส่วนมากเดินทางทางเรือ สินค้าต่างๆ ก็มีการขนส่งทางเรือจึงเป็นนักเดินเรือที่มีความชำนาญ แตกต่างจากสมัยนี้มากตรงที่มักจะไม่ค่อยเอื้อเฟื้อและไม่เป็นมิตร

ชาวโรมันมีการเดินทางกันอย่างกว้างขวางตังแต่ 300 ปีก่อนคริสตกาลเนื่องจากความกว้างใหญ่ไพศาลของอาณาจักรโรมัน นิยมเดินทางกันไปพักร้อนบนภูเขา วัฒนธรรมของโรมันทำให้เกิดการท่องเที่ยวแบบมหาชน การท่องเที่ยวที่สำคัญของชาวโรมันคือ กรีก นิยมเดินทางไปชมความสำเร็จทางศิลปวิทยาการของชาวกรีก อนุสาวรีย์ประเภทรูปแกะสลักมากมาย โครงสร้างพื้นบานถูกสร้างขึ้นอย่างเป็นระบบ ทั้งถนน ที่พักแรม ร้านอาหาร ตลอดจนการรักษาความปลอดภัย


ยุคกลาง(ยุคมืด)(Middle Age/Dark Age) AD 500-1500
เป็นช่วงที่เศรษฐกิจตกต่ำ ศาสนสเข้ามามีบทบาทในการกำหนดการดำเนินชีวิตของผู้คน วันหยุดเริ่มเข้ามามีบทบาทมากขึ้น คนชั้นกลางและชั้นสูงนิยมเดินทางเพื่อแสวงบุญ ในระยะทางไกลในเมืองต่างๆ ตามหลักฐานที่ปรากฏเป็นนิทานเรื่อง Canterbury's tales การเฟื่องฟูของอาชีพมัคคุเทศก์

ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา (Renaissance)
ลักษณะสำคัญของการท่องเที่ยวในยุคนี้คือเกิดการพัฒนาการด้านการค้า ผู้คนเริ่มใฝ่รู้เกี่ยวกับเรื่องของยุโรปสมัยก่อน โดยเฉพาะชาวอังฤษที่ร่ำรวย นิยมส่งบุตรชายออกเดินทางไปต่างประเทศพร้อมกับผู้สอนประจำตัวเป็นระยะเวลา 3 ปี เรียกว่าแกรนด์ทัวร์ โดยมีจุดมุ่งหมายที่ประเทศอิตาลี อาจเรียกแกรนด์ทัวร์ว่าเป็นการท่องเที่ยวเพื่อการศึกษาก็ไดั


สมัยคริสต์ศตวรรษที่ 18-19
สังคมเริ่มเปลี่ยนจากเกษตรกรมมเป็นอุตสาหกรมเกิดการอาณานิคมขึ้น ที่พักแรมได้รับการพัฒนามาตามลำดับ กลายเป็นโรงแรมแทน inns ต่างๆ มีการโยกย้ายถิ่นฐานไปยังดินแดนใหม่ๆนอกยุโรป อาทิ ไป อเมริกา มีการพัฒนาประดิษฐ์จักรไอน้ำ กับเรือกลไฟแบบกังหันข้างผสมใบ ทำให้เกิดการเดินทางได้เร็วขึ้น และมีการพัฒนากิจการรถไฟ และในปี ค.ศ. 1841 โทมัส คุก ได้จัดนำเที่ยวมางรถไฟแบบครบวงจรเป็นครั้งแรกที่อังกฤษ



ยุคศตวรรษที่ 20
การท่องเที่ยวยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ความสะดวกสบายมีมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเดินทาง ที่พักแรม เงินตรา เอกสารการเดินทาง ผู้คนหันมานิยามการเดินทางด้วยรถยนต์ส่วนตัวมากขึ้น ทำให้การเดินทางด้วยรถไฟน้อยลง มีการพัฒนาของอุตสาหกรรมการบินที่เริ่มขึ้นในยุโรป ปี ค.ศ. 1919 และเริ่มขนส่งผู้โดยสารช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา และช่วงหลังสงครามโลกผู้คนออกเดินทางท่องเที่ยวเพื่อเยี่ยมชมสถานที่สำคัญทางการสงคราม


สมัยอธุยา
ระบบสังคมเป็นแบบศักดินา ผู้คนไม่ค่อยมีอิสระในการเดินทางเพือ่การพักผ่อน นอกจากเพื่อไปการค้าเล็กๆ น้อย มีการปรับปรุงคมนาคมขนส่ง ทางน้ำ ทางบก เพื่อการค้าและการเดินทาง มักเดินทางกันเป็นกลุ่มในผู้ปกครอง ค.ศ. 1511 โปรตุเกสเป็นชาติแรกที่เดินทางเข้ามาอยุธยา ส่วนญี่ปุ่น อังกฤษ ฮอลันดา ฝรั่งเศสตามมาภายหลัง



สมัยสุโขทัย
การเดินทางเป็นไปอย่างอิสรเสรี โดยส่วนมากเป็นไปเพื่อการค้าขาย และทางศาสนา และส่วนมากเป็นการเดินทางภายในประเทศเท่านั้น





สมัยธนบุรีและรัตนโกสินทร์
ร. 1 และพระเจ้าตากสินพยายามฟื้นฟูความเป็นอยุธยาขึ้นมาอีกครั้ง เพราะโครงสร้างของบ้านเมือง วัฒนธรรมประเพณีต่างๆ จะคล้ายกับในสมัยอยุธยา

ร.2 ทรงทำนุบำรุงทางด้านศิลปวัฒนธรรม และพัฒนาด้านการค้าระหว่างประเทศ

ร.3 บ้านเมืองเปิดการค้าขายกับชาวต่างชาติมากขึ้นอีกครั้งหนึ่งคล้ายๆ กับสมัยของสมเด็จพระนารายณ์




สรุปการท่องเที่ยวไทยในช่วงก่อนเปลี่ยนการปกครองได้รับการพัฒนาและสนับสนุนจากชนชั้นผู้ปกครอง แล้วค่อยขยายลงสู่ภาคประชาชน รัฐบาลไทยขณะนั้นเห็นความสำคัญของการท่องเที่ยว จึงได้ตั้งองค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งประเมศไทย(อสท.) ในปี พ.ศ. 2503 พร้อมกันนั้นก๊มีการจัดตั้งบริษัทการบินไทย เพื่อยกระดับการท่องเที่ยวของประเทศไทยอีกด้วย และได้เปลี่ยนมาเป็นการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยในปี พ.ศ.2522

วันศุกร์ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว



เกาะสิมิลัน



เกาะสิมิลันเป็นความงามแห่งท้องทะเลอันดามัน ประกอบด้วยภูมิทัศน์ทั้งบนเกาะและใต้ท้องทะเล มีชื่อเสียงที่กระฉ่อนไปทั่วโลก กลายเป็นวถานที่ท่องเที่ยวที่ทุกคนต้องพบกับความสวยงามประทับใจทั้งบนเกาะและใต้น้ำ นอกจากนี้อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลันได้ประกาศพื้นที่เกาะตาชัย อีกเกาะหนึ่งเข้าไปด้วยกัน ซึ่งเป็นเกาะที่อยู่ทางเหนือของเกาะสิมิลัน เป็นเกาะที่มีทรัพยากรที่สวยงามบริสุทธิ์ตามธรรมชาติไว้ครบถ้วน

หมู่เกาะสิมิลันประกอบด้วยเกาะต่างๆถึง 9 เกาะด้วยกัน ได้แก่ เกาะเก้า(บางู), เกาะแปด(สิมิลัน), เกาะเจ็ด(หินกะโหลก-หินพุทรา), เกาะหก(บายู), เกาะห้า,เกาะสี่(เมี่ยง), เกาะสาม(บายัน), เกาะสอง(ปายัง) และเกาะหนึ่ง(หูยง) ตามลำดับที่ทอดแนวตำแหน่งที่ตั้งของตัวเกาะต่างๆจากด้านเหนือจรดด้านใต้ จากหัวเกาะด้านเหนือคือตำแหน่งของ เกาะเก้า หรือ เกาะบายู ถัดมาก็เป็นเกาะแปด หรือ เกาะสิมิลัน เป็นเกาะที่มีหินขนาดใหญ่ยาวตามทิศเหนือจรดทิศใต้ เป็นลักษณะเกาะที่มีป่าเขียวครื้มทั้งเกาะ บนสันเขาด้านใต้จะเป็นภาคารตั้งอยู่โดดเด่น

บริเวณหน้าอ่าวของเกาะหกจะเป็นแหล่งชมปะการังน้ำตื่นด้วยการสกินไดฟ์ ปะการังที่พบจะเป็นปะการังเขากวางหลายชนิด บางจุดจะเป็นปะการังเขากวางชั้นโค้งหรือเป็นปะการังเขากวางชั้น บางแห่งจะเป็นปะการังช่องแผ่น บางแห่งก็พบปะการังเห็ดมีลักษณะคล้ายดอกเห็ดรูปทรงกลม มีสีแดงอมม่วง พบปะปนกับปะการังก้อนรูปสมอง หรือปะการังแหวนชนิดต่างๆ นอกจากนี้ยังมีปลาชนิดต่างๆ เช่น ปลาผีเสื้อข้างลาย ปลาโนรี ปลาเขียวพระอินทร์ ปลานกแก้วสีเขียวอมฟ้า ปลานกขุนทอง เป็นต้น ที่แหวกว่ายไปมาอย่างสวยงาม






บนเกาะสี่อันเป็นที่ตั้งของอุทยานฯสิมิลัน มีเรือนพัก ห้องน้ำ ร้านอาหาร ร้านสวัสดิการของอุทยานฯ สำหรับที่พักจะมีเรือนแถว สร้างอยู่ท่ามกลางแมกไม้อันร่มรื่น และยังมีบ้านพักที่ปลูกสร้างไว้ตามเนินเขาตามสภาพภูมิประเทศของเกาะ สำหรับนักท่องเที่ยวมรานำเต็นท์มาเอง ต้องไปพักที่เกาะแปด

ผืนทรายที่ขาวเนียนตัดกับผืนน้ำสีครามสดใส คือโลกของความงามเกาะสิมิลัน ที่นักท่องเที่ยวปรารถนาจะมาได้สัมผัสกับธรรมชาติของหมู่เกาะท้องทะเลอันดามัน เกาะสี่หรือเกาะเมี่ยง จะมีแหล่งธรรมชาติที่สวยงามหลายจุด หากเดินทางข้ามเกาะไปทางหาดเล็กจะเป็นหนึ่งที่สงบเงียบเช่นกัน ระหว่างจะมีทางขึ้นไปยังมีจุดชมวิวที่มีชื่อว่า"ลานข้าหลวง" จะเป็นเส้นทางเดินป่าขึ้นไปไกลพอสมควร เมื่อถึงยอดเขาจะเป็นจุดชมวิว เป็นมุมภาพมุมสูงที่สามารถมองเห็นมิติของท้องทะเลได้อย่างสวยงาม

โลกทะเลสีครามแห่งท้องทะเลอันดามันที่มีชื่อเสียง"หมู่เกาะสิมิลัน"คือสวรรค์อันดามัน ที่ทุกคนสามารถมาสัมผัสได้ไม่ว่าจะเป็นโลกบนตัวเกาะ หรือโลกใต้ท้องทะเลที่มีความงดงามสมบูรณ์ที่สุดของเมืองไทย



การเดินทาง



รถยนต์ส่วนตัว
จากกรุงเทพฯลงไปตามเส้นทางหมายเลข 4 ผ่านประจวบฯ-ชุมพร-ระนอง และตรงไปยังตะกั่วป่า ก่องถึง อ.ท้ายเหมือง จะมีทางแยกเข้าท่าเรือทับละมุ เป็นท่าเรือที่เดินไปยังเกาะสิมิลน
และอีกเส้นทางหนึ่ง จากกรุงเทพฯ ลงไปชุมพร ใช้เส้นทางหมายเลข 41 แล้วแยกขวาไปตามทางหลวง 401 จนถึง อ.ตะกั่วป่า แยกซ้ายไปตามหลายเลข 4 จนถึงทางแยกเข้าท่าเรือทับละมุ


รถประจำทาง
กรุงเทพฯ-พังงา
รถปรับอากาศ 24 ,40 ที่นั่ง กรุงเทพฯ-ตะกั่วป่า สอบถามรายละเอียดโทร 076-356711





การเดินทางไปอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน




จากท่าเรือทับละมุ อ.ท้่ายเหมือง จงพังงา ไปยังสิมิลัน เป็นระยะทาง40 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทาง 1.45 ชม. โดยเรือเร็ว



ค่าโดยสารคนละ 1700 บาท สามารถติดต่อได้จากบริษัททัวร์ที่ทับละมุได้












วันพุธที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

โปรแกรมทัวร์เกาะพีพี เกาะไม้ไผ่





รายละเอียดโปรแกรม

08.00 น. ออกจากโรงแรมที่พัก

08.30 น. ถึงท่าเรือ

09.00 น. ออกเดินทางโดยเรือ Sped boat ปลอดภัยด้วยเส้อชุชีพ เจาะลึกหมู่เกาะพีพี เที่ยวรอบเกาะพีพีเล อ่าวมาหยา สถานที่ถ่ายทำภาพยนต์ฮอลลีวู้ดเรื่อง The beach เวิ้งอ่าววงพระจันทร์ตัดกับน้ำทะเลสีคราม ทะเลในที่อ่าวปิเละ ชมน้ำทะเลสีเขียวมรกตตัดกับภูเขาหินปูนที่โอบล้อม เล่นน้ำ ดำน้ำชมปะการังและฝูงปลามากมาที่อ่าวโล๊ะซามะ ผ่านชมถ้ำไวกิ้ง หรือถ้ำพญานาคที่ได้รับการสัมปทานเก็บรังนกนางแอ่น
12.00 น. เดินทางถึงเกาะพีพีดอน รับประทานอาหารกลางวัน จากนั้นเดินเล่นหรือเลือกซื้อของที่ระลึกบนเกาะพีพีดอน
13.30 น. เดินทางถึงอ่าวการัน เล่นน้ำ ดำน้ำ ชมปะการังและฝูงปลา จากนั้นเที่ยวชมเกาะไผ่ เกาะที่สวยที่สุดของเกาะพีพี ดั่งสมญานาม"ดงปะการังแสนไร่" เชิญทุกท่านเล่นน้ำ หรือพักผ่อนตามอัธยาศัย

16.00 น. เดินทางกลับถึงท่าเรืออย่างสวัสดิภาพ


ราคา
เด็ก 800 บาท
ผู้ใหญ่ 1,600 บาท
ชาวต่างชาติ 1,800 บาท


ราคานี้รวม

ค่ารถรับส่ง

ค่าบริการเรือเร็ว

อุปกรณ์ดำน้ำ ชูชีพ

อาหารกลางวัน

เครื่องดื่มและผลไม้

ค่าธรรมเนียมเข้าชมอุทยาน

ค่าประกันภัย




สิ่งที่แนะนำให้นำติดตัวไปด้วย


ผ้าขนหนู กล้องถ่ายรูป

ครีมกันแดด หมวกและแว่นตากันแดด

395 ปี บันทึกของปินโต




ปินโตเป็นชาวเมืองมองเตอมูร์เก่า(Montemor-o-velho)ใกล้เมืองกูอิงบรา(Coinbre)ในราชอาณาจักรโปรตุเกต ปิ่นโตเกิดในครอบครัวยากจนระหว่าง ค.ศ. 1509-1512 เมื่ออายุประมาณ 10 หรือ 12 ขวบจึงต้องเป็นรับใช้ของสตรีผู้หนึ่ง ชีวิตของเขาตกอยู่ในอันตรายจนต้องหลบหนีลงเรือจากเมืองกูแอ ปิ่นโตเคยเผชิญปัญหาเรือับปาง 5 ครั้ง ถูกขาย 16 ครั้ง และถูกจับเป็นทาสถึง 13 ครั้ง ชีวิตเอเชียของปิ่นโตเคยผ่านการเป็นทั้งกวาสีเรือ ทหาร พ่อค้า ทูตและนักสอนศาสนา


ปินโตเคยเดินทางเข้าสยาม 2 ครั้ง ครั้งแรกเข้ามาในปัตตานีและนครศรีธรรมราช ครั้งที่ 2 เข้ามายักรุงศรีอยุธยาในรัชสมัยสมเด็จพระไชยราชาธิราช หลังจากปิ่นโตถึงแก่กรรม บุตรีของเขาได้มอบต้นฉบับหนังสือให้แก่นักบวชสำนักหนึ่งกรุงลิสบอน กษัตริย์ฟิลิปได้ทอดพระเนตรงานนิพนธ์ชิ้นนี้ บุตรีของปิ่นโตจึงได้รับพระราชทานบำเหน็จรางวัลแทนบิดา งานเขียนขงปิ่นโตตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ ค.ศ. 1614 และแปลเป็นภาษาต่างๆ อาทิ ภาษาฝรั่งเศสและภาษาอังกฤษ กรมศิลปากรได้เผยแพร่บันทึกของปิ่นโตบางส่วนในชื่อ"การท่องเที่ยวผจญภัยของแฟร์นังด์ มังเดซ" บางส่วนถูกนำเสนอในรูปของร้อยแก้ว บางตอนก็ระบุว่าเรื่องที่ได้ยินได้ฟังมาจากคำบอกเล่าและการสอบถามผู้รู้ ปิ่นโตระบุว่าการเล่าเรื่องการเดินทางของเขามีจุดหมายเพื่อให้มีการเรียนรู้สภาพูมิศาสตร์ของโลกให้มากยิ่งขึ้น มีจุดประสงค์ที่ก่อให้เกิดความท้อถอยในการติดต่อกับดินแดนแถบเอเชีย เขาระบุว่าอุทิศการทำงานให้แก่พระเจ้ามิได้หวังชื่อเสียง สิ่งทีผลักดันให้เขาเดินทางไปยังตะวันออกคือ ธรรมชาติของลูกผู้ชาย เพื่อทัศนศึกษาดินแนต่างๆในโลกกว้างและเพื่อเรียนรู้เรื่องราวของ"คนป่าเถื่อน"


คุณค่าทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับราชอาณาจักรสยาม


บันทึกของปินโตนับเป็นเอกสารสำคัญที่กล่าวถึงเรื่องราวส่วนหนึงเกี่ยวกับทรัพยากร การทหาร วัฒนธรรม ประเพณี ความเชื่อ กฎหมายและเรื่องราวในราชสำนักสยามกลางคริสต์ศตวรรษที่ 16 และมักจะถูกอ้างอิงเสมอเมื่อกล่าวถึงบทบาททางการทหารของชุมชนโปรตุเกส งานของปิ่นโตบางส่วนมีรูปแบบเป็นจดหมายติดตอกับบุคคล และปิ่นโตยังยืนยันว่าเขาได้รับจดหมายฝากฝังจากผู้สำเร็จราชการโปรตุเกสแห่งเมืองกัว เพื่อให้ได้เข้าเฝ้ารับพระราชทานรางวัลจากสมเด็จพระราชินีแคเธอรีนแห่งโปรตุเกสแสดงให้เห็นถึงความพยายามในการอ้างอิงพยานบุคคลของเขา



ความน่าเชื่อถือ


หนังสือของปินโตถูกตีพิมพ์แพร่อน่างกว้างขวางในยุโรป จึงเป็นเหตุให้เขาถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรง วิลเลี่ยม คอนเกรฟ (William Congreve,1670-1729) ในงานเขียนชื่อระบุว่า การผจญภัยของปิ่นโตมีลักษณะคล้ายกับเรื่องราวในนิยายอาหรับและตั้งฉายาเขาว่า"ซินแบดแห่งโปรตุเกส"


หลักฐานของปิ่นโตกับปัญหาในการศึกษาชุมชนโปรตุเกสสมัยอยุธยา


ประวัติศาสตร์ใช้ในการตรวจสอบเรื่องราวเกี่ยวกับตำแหน่งหัวหน้าค่ายโปรตุเกส ความสัมพันธ์ของคนในค่าย ความสัมพันธ์ระหว่างค่ายโปรตุเกสกับราชสำนักอยุธยา ความสัมพันธ์ระหว่างค่ายโปรตุเกสกับมะละกา กัว มาเก๊า และราชอาณาจักรโปรตุเกส ปิ่นโตระบุว่านักสอนศาสนาก๊จำเป็นต้องเผยแพร่ศาสนาภายใต้นโยบายของราชสำนักหรือผู้สำเร็จราชการโปรตุเกสแห่งแมืองกัวเช่นเดียวกับราชการทั่วไป อีกทั้งยังคงเป็นทหารและนักสอนศาสนาของโปรตุเกสด้วย เขาจึงเป็นบุคคลที่มีเกียรติพอที่จะได้รับความน่าเชื่อถือจากผู้มีฐานะเป็นศัตรูชาติโรตุเกสในยุโรปหรือแม้แต่ชาวโปรตุเกสบางคนแต่เขาก็ไม่เคยถูกนักประวัติศาสตร์เสียดสีเลยแม้แต่น้อย


สรุป

งานนิพนธ์ของปินโตมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์มากกว่าจะถูกมองว่าเป็นเพียงวรรณกรรมประโลมโลกหรือิยายผจญภัยของกลาสีเรือ แม้เนื้อหาบางตอนจะดูตื่นเต้นเร้าใจเกินกว่าจะมีความสมจริงตามทัศนะของนักประวัติศาสาตร์ ข้อถกเถียงในงานเปิดของปิ่นโตอาจจะมีอยู่ไม่น้อย แต่มีหลักฐานปรวัติศาสตร์ชิ้นใดบ้างที่ปราศจากคำถามและความเคลือบแคลง นักประวัติศาสตร์บางท่านก็ถือเป็นความไม่เที่ยงของหลักฐานทางประวัติศาสตร์

วันเสาร์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

บทที่ 1


ความหมาย ความสำคัญของการท่องเที่ยว


การท่องเที่ยวคือการเดินทางไปชมสถานที่ต่างๆ เยี่ยมเยือนญาติมิตร ไปประชุมหรือเพื่อไปร่วมกิจกรรมบางอย่าง การเดินทางที่จัดเป็นการท่องเที่ยวต้องมีลักษณะดังนี้

1.เป็นการเดินทางจากที่อยูอาศัยปกติไปยังที่อื่นเป็นการชั่วคราว
2.เป็นการเดินทางด้วยความสมัครใจ
3.เป็นการเดินทางด้วยวัตถุประสงค์ใดๆก๊ตามที่มิใช่เพื่อประกอบอาชีพหรือการหารายได้



การจำแนกประเภทของผู้มาเยือน


1.นักท่องเที่ยว (Tourist)คือผู้มาเยือนชั่วคราว และพักอาศัย ณ สถานที่ที่ไปเยี่ยมเยือนอย่างน้อย 24 ชั่วโมงด้วยจุดประสงค์เพื่อใช้เวลาว่าง หรือเพื่อประกอบธุรกิจ เยี่ยมเยือนญาติพี่น้อง ปฏิบัติภารกิจบางอย่างหรือการประชุม

2.นักทัศนจร (Excursionist)คือผู้มาเยือนชั่วคราว และพักอาศัย ณ สถานที่ที่ไปเยี่ยมเยือน ไม่เกิน 24 ชั่วโมง รวมถึงเดินทางโดยเรือสำราญ



วัตถุประสงค์ของการท่องเที่ยว


1.เพื่อความเพลิดเพลินสนุกสนานและพักผ่อน(Holiday)เป็นการเดินทางของนักท่องเที่ยวที่มีวัตถุประสงค์ต้องการความเพลิดเพลิน สนุกสนาน รื่นเริง เพื่อไปชมหรืสัมผัสกับสิ่งแปลกใหม่ เช่น การเดินทางไปอาบแดดที่ชายทะเล เล่นน้ำตกหรือสวนสนุก เป็นต้น

2.เพื่อธุรกิจ(Business)เป็นการเดินทางที่ควบคู่ไปกับการทำงานแต่มิได้มีวัตประสงค์เพื่อประกอบอาชีพ หรือหารายได้จากสถานที่ที่ไปท่องเที่ยวนั้น เช่น การเดินทางไปประชุมในวาระต่างๆ ร่วมงานจัดแสดงสนค้า สำรวจตลาดหรือการเดินทางไปท่องเที่ยวของคณะพนักงานที่มีผลงานโดนเด่น เป็นต้น

3.เพื่อวัตถุประสงค์อื่นๆเป็นการเดินทางด้วยวัตถุประสงค์เฉพาะ และสลับซับซ้อนมากกว่าการไปพักผ่อน ประชุม หรือสัมมนา เช่น การเดินทางไปศึกษาธรรมชาติ ศิลปวัฒนธรรม เผยแผศาสนา การเดินทางไปแข่งขันกีฬา เป็นต้น



ประเภทของการท่องเที่ยว

แบ่งตามสากล



1.การท่องเที่ยวภายในประเทศ(Domestis Tourism)คือผู้ที่อาศัยภายในประเทศนั้นๆเดินทางมาเที่ยวภายในประเทศของตน


2.การท่องเที่ยวเข้ามาในประเทศ(Inbound Tourism)คือผู้ที่อาศัยที่อื่นเดินทางมาเที่ยวภายในประเทศนั้นๆ


3.การท่องเที่ยวนอกประเทศ(Outbound Tourism)คือผู้ที่อาศัยอยู่ในประเทศหนึ่งเดินทางออกไปท่องเที่ยงยังต่างประเทศ



องค์ประกอบที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับนักท่องเที่ยว


1.สิ่งดึงดูดใจทางการท่องเทียว


2.ธุรกิจการคมนาคมขนส่ง ทั้งทางบก ทางอากาศ และทางน้ำ


3.ธุรกิจที่พัก


4.ธุรกิจร้านอาหารและภัตตาคาร


5.ธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์


ความสำคัญของการท่องเที่ยว


ทางด้านเศรษฐกิจ


1.สร้างรายได้เป็นเงินตราเข้ามาในประเทศเป็นจำนวนมาก และทำรายได้ให้แก่ประเทศเป็นอันดับ 1

2.ก่อให้เกิดการหมุดเวียนและการกระจายรายได้ไปสู่ท้องถิ่น

3.ก่อให้เกิดการเอานำทรัพยากรมาใช้อย่างคุ้มค่า ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในรูปแบบต่างๆ

4.การท่องเที่ยวช่วยลดปัญหการว่างงาน


ทางด้านสังคมและวัฒนธรรม


1.การท่องเที่ยวมีส่วนส่งเสริมให้เกิดความสัมพันธ์อันดี สันติภาพแก่โลก เพราะการท่องเที่ยวเป็นการเรียนรู้สิ่งแปลกใหม่ เพื่อสร้างความเข้าใจอันดี ระหว่างประเทศเจ้าบ้านกับแขกผู้มาเยือน

2.การท่องเที่ยวมีส่วนในการพัฒนายกระดับมาตรฐานชีวิตความเป็นอยู่ของคนในสังคมในรูปแบบสิ่งอำนายความสะดวกต่างๆ เช่น ไฟ้า น้ำประปา โทรศัพท์ เป็นต้น

3.การท่องเที่ยวมีส่วนในการลดปัญหาของสังคม เมื่อคนมีงานทำมีรายได้ ปัญหาาชญากรรม สิ่งเสพติดหรือสิ่งต่าง ๆ ก็ลดลงไปด้วย

4.การท่องเที่ยวมีส่วนในการช่วยฟูื้นฟู อนุรักษ์วัฒนธรรมแะสิ่งแวดล้อม สร้างความภูมิใจ สำนึกและตระหนักถึงคุณค่าของศิลปวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม

5.การท่องเที่ยวมีส่วนช่วยให้คนรู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์โดยการรู้จักนำผลิตผลในท้องถิ่นมาผลิตเป็นสินค้าพื้นเมือง ของที่ระลึกมาจำหน่ายแก่นักท่องเที่ยว


ทางด้านการเมือง


1.การท่องเที่ยวช่วยส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมีการร่วมมือกันระหว่างประเทศในการสนับสนุนการท่องเที่ยว และยังได้เรียนรู้ซึ่งกันและกันมากขึ้นอีกด้วย

2.การท่องเที่ยวช่วยส่งเสริมความมั่นคงปลอดภัยและภาพลักษณ์ที่ดีแก่ประเทศเพราะนักท่องเที่ยวมักเลือกการเดิน
ไปประเทศที่มีความปลอดภัยและมั่นคง