วันพุธที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

395 ปี บันทึกของปินโต




ปินโตเป็นชาวเมืองมองเตอมูร์เก่า(Montemor-o-velho)ใกล้เมืองกูอิงบรา(Coinbre)ในราชอาณาจักรโปรตุเกต ปิ่นโตเกิดในครอบครัวยากจนระหว่าง ค.ศ. 1509-1512 เมื่ออายุประมาณ 10 หรือ 12 ขวบจึงต้องเป็นรับใช้ของสตรีผู้หนึ่ง ชีวิตของเขาตกอยู่ในอันตรายจนต้องหลบหนีลงเรือจากเมืองกูแอ ปิ่นโตเคยเผชิญปัญหาเรือับปาง 5 ครั้ง ถูกขาย 16 ครั้ง และถูกจับเป็นทาสถึง 13 ครั้ง ชีวิตเอเชียของปิ่นโตเคยผ่านการเป็นทั้งกวาสีเรือ ทหาร พ่อค้า ทูตและนักสอนศาสนา


ปินโตเคยเดินทางเข้าสยาม 2 ครั้ง ครั้งแรกเข้ามาในปัตตานีและนครศรีธรรมราช ครั้งที่ 2 เข้ามายักรุงศรีอยุธยาในรัชสมัยสมเด็จพระไชยราชาธิราช หลังจากปิ่นโตถึงแก่กรรม บุตรีของเขาได้มอบต้นฉบับหนังสือให้แก่นักบวชสำนักหนึ่งกรุงลิสบอน กษัตริย์ฟิลิปได้ทอดพระเนตรงานนิพนธ์ชิ้นนี้ บุตรีของปิ่นโตจึงได้รับพระราชทานบำเหน็จรางวัลแทนบิดา งานเขียนขงปิ่นโตตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ ค.ศ. 1614 และแปลเป็นภาษาต่างๆ อาทิ ภาษาฝรั่งเศสและภาษาอังกฤษ กรมศิลปากรได้เผยแพร่บันทึกของปิ่นโตบางส่วนในชื่อ"การท่องเที่ยวผจญภัยของแฟร์นังด์ มังเดซ" บางส่วนถูกนำเสนอในรูปของร้อยแก้ว บางตอนก็ระบุว่าเรื่องที่ได้ยินได้ฟังมาจากคำบอกเล่าและการสอบถามผู้รู้ ปิ่นโตระบุว่าการเล่าเรื่องการเดินทางของเขามีจุดหมายเพื่อให้มีการเรียนรู้สภาพูมิศาสตร์ของโลกให้มากยิ่งขึ้น มีจุดประสงค์ที่ก่อให้เกิดความท้อถอยในการติดต่อกับดินแดนแถบเอเชีย เขาระบุว่าอุทิศการทำงานให้แก่พระเจ้ามิได้หวังชื่อเสียง สิ่งทีผลักดันให้เขาเดินทางไปยังตะวันออกคือ ธรรมชาติของลูกผู้ชาย เพื่อทัศนศึกษาดินแนต่างๆในโลกกว้างและเพื่อเรียนรู้เรื่องราวของ"คนป่าเถื่อน"


คุณค่าทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับราชอาณาจักรสยาม


บันทึกของปินโตนับเป็นเอกสารสำคัญที่กล่าวถึงเรื่องราวส่วนหนึงเกี่ยวกับทรัพยากร การทหาร วัฒนธรรม ประเพณี ความเชื่อ กฎหมายและเรื่องราวในราชสำนักสยามกลางคริสต์ศตวรรษที่ 16 และมักจะถูกอ้างอิงเสมอเมื่อกล่าวถึงบทบาททางการทหารของชุมชนโปรตุเกส งานของปิ่นโตบางส่วนมีรูปแบบเป็นจดหมายติดตอกับบุคคล และปิ่นโตยังยืนยันว่าเขาได้รับจดหมายฝากฝังจากผู้สำเร็จราชการโปรตุเกสแห่งเมืองกัว เพื่อให้ได้เข้าเฝ้ารับพระราชทานรางวัลจากสมเด็จพระราชินีแคเธอรีนแห่งโปรตุเกสแสดงให้เห็นถึงความพยายามในการอ้างอิงพยานบุคคลของเขา



ความน่าเชื่อถือ


หนังสือของปินโตถูกตีพิมพ์แพร่อน่างกว้างขวางในยุโรป จึงเป็นเหตุให้เขาถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรง วิลเลี่ยม คอนเกรฟ (William Congreve,1670-1729) ในงานเขียนชื่อระบุว่า การผจญภัยของปิ่นโตมีลักษณะคล้ายกับเรื่องราวในนิยายอาหรับและตั้งฉายาเขาว่า"ซินแบดแห่งโปรตุเกส"


หลักฐานของปิ่นโตกับปัญหาในการศึกษาชุมชนโปรตุเกสสมัยอยุธยา


ประวัติศาสตร์ใช้ในการตรวจสอบเรื่องราวเกี่ยวกับตำแหน่งหัวหน้าค่ายโปรตุเกส ความสัมพันธ์ของคนในค่าย ความสัมพันธ์ระหว่างค่ายโปรตุเกสกับราชสำนักอยุธยา ความสัมพันธ์ระหว่างค่ายโปรตุเกสกับมะละกา กัว มาเก๊า และราชอาณาจักรโปรตุเกส ปิ่นโตระบุว่านักสอนศาสนาก๊จำเป็นต้องเผยแพร่ศาสนาภายใต้นโยบายของราชสำนักหรือผู้สำเร็จราชการโปรตุเกสแห่งแมืองกัวเช่นเดียวกับราชการทั่วไป อีกทั้งยังคงเป็นทหารและนักสอนศาสนาของโปรตุเกสด้วย เขาจึงเป็นบุคคลที่มีเกียรติพอที่จะได้รับความน่าเชื่อถือจากผู้มีฐานะเป็นศัตรูชาติโรตุเกสในยุโรปหรือแม้แต่ชาวโปรตุเกสบางคนแต่เขาก็ไม่เคยถูกนักประวัติศาสตร์เสียดสีเลยแม้แต่น้อย


สรุป

งานนิพนธ์ของปินโตมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์มากกว่าจะถูกมองว่าเป็นเพียงวรรณกรรมประโลมโลกหรือิยายผจญภัยของกลาสีเรือ แม้เนื้อหาบางตอนจะดูตื่นเต้นเร้าใจเกินกว่าจะมีความสมจริงตามทัศนะของนักประวัติศาสาตร์ ข้อถกเถียงในงานเปิดของปิ่นโตอาจจะมีอยู่ไม่น้อย แต่มีหลักฐานปรวัติศาสตร์ชิ้นใดบ้างที่ปราศจากคำถามและความเคลือบแคลง นักประวัติศาสตร์บางท่านก็ถือเป็นความไม่เที่ยงของหลักฐานทางประวัติศาสตร์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น