วันจันทร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2553

บทที่ 10
กฎหมายสำคัญของไทยที่เกี่ยวกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว



อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเป็นอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับองค์กรณ์หลายฝ่ายทั้งรัฐและเอกชน และด้วยเหตุที่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยไม่มีอำนาจเบ็ดเสร็จในการสั่งการในทุกด้านที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวดั้งนั้น

กฎหมายสำคัญของไทยที่เกี่ยวกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ดังนี้
1. กฎหมายเกี่ยวกับองค์การที่ดูแลสนับสนุนการท่องเที่ยวโดยทั่วไป
2. กฎหมายควบคุมนักท่องเที่ยว
3. กฎหมายควบคุมดูแลและพัฒนาทรัพยากรการท่องเที่ยว
4. กฎหมายควบคุมเกี่ยวกับธุรกิจการท่องเที่ยว

1. กฎหมายเกี่ยวกับองค์การที่ดูแลสนับสนุนการท่องเที่ยวโดยทั่วไป มีกฎหมายสำคัญจำนวน 4 ฉบับ ได้แก่
1. พระราชบัญญัติการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย พ.ศ.2522
-คำจำกัดความของอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ผู้ประกอบอุตสาหกรรมท่องเที่ยว นักท่องเที่ยวและคณะกรรมการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
-ระเบียบเกี่ยวกับการจัดตั้งทุน และเงินสำรองของการ ท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
ระเบียบเกี่ยวกับการกำกับ การควบคุมและการบริหารงานของททท.
2. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545
-กฎหมายก่อตั้งกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาขึ้นรับผิดชอบด้านการท่องเที่ยว
-ให้การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) โอนภาระงานด้านการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว พัฒนาบริการท่องเที่ยว และทะเบียนธุรกิจนำเที่ยวให้กับกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
-ทำให้ททท.มีหน้าที่เพียงด้านการบริหารจัดการตลาดการท่องเที่ยวเป็นหลัก
3. พระราชบัญญัติสภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย พ.ศ.2544
-กำหนดให้มีการจัดตั้งสภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยมี
วัตถุประสงค์เพื่อ
1) เป็นตัวแทนของผู้ประกอบอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในด้านการประสานงาน
2) ส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว
3) ส่งเสริมให้มีการอนุรักษ์ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี สถานที่ท่องเที่ยว โบราณสถาน และสิ่งแวดล้อมรวมทั้งเอกลักษณ์ของความเป็นไทย
4) ส่งเสริมให้มีจรรยามารยาทในการท่องเที่ยว
4. พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 ถึง 2546 (รวม 5 ฉบับ)
-เกี่ยวข้องกับการพัฒนาตำบลทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม
-จัดให้มีและบำรุงรักษาทางน้ำและทางบก การกำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล ป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ส่งเสริมการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุและผู้พิการ
-คุ้มครองดูแลและบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
-บำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น


2. กฎหมายควบคุมนักท่องเที่ยว มีกฎหมายสำคัญ จำนวน 2 ฉบับ ได้แก่
1.พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2522, 2523 และ 2542
-เป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการอนุญาตให้ชาวต่างชาติเดินทางเข้าออกในประเทศไทยในฐานะนักท่องเที่ยว
-ดูแลเกี่ยวกับการเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวของคนต่างด้าว
-การควบคุมพาหนะที่เข้า-ออกประเทศตามช่องทางด่านตรวจคนเข้าเมืองหรือท้องที่ที่กำหนด
2.พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469 ถึง 2548
-เป็นกฎหมายเก่าแก่ที่ใช้มาตั้งแต่ พ.ศ. 2469 และได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมเรื่อยมาโดยลำดับ
-ในปัจจุบัน (พ.ศ. 2548) มีกฎหมายศุลกากรใช้บังคับอยู่รวม 20 ฉบับ
-เนื้อหาเกี่ยวข้องกับการนำของเข้า การส่งของออก การเสียภาษีตามพิกัดอัตราศุลกากรของนักท่องเที่ยว รวมทั้งระเบียบว่าด้วยการตรวจของและป้องกันการลักลอบหนีศุลกากร และข้อกำหนดเรื่องการนำเงินตราเข้าออกประเทศ

3.กฎหมายควบคุมดูแลและพัฒนาทรัพยากรการท่องเที่ยวมีกฎหมายสำคัญ จำนวน 17 ฉบับ ได้แก่
1. พระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2504
-เป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองดูแลรักษาและจัดการอุทยานแห่งชาติอันเป็นทรัพยากรการ ท่องเที่ยวประเภทธรรมชาติซึ่งต้องการให้มีการจัดการ การอนุรักษ์ และพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีความยั่งยืน
-อยู่ภายใต้การบริหารจัดการของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
2. พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535 และ 2546-เกี่ยวข้องกับการสงวนและคุ้มครองโดยคณะกรรรมการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าแห่งชาติ เพื่อไม่ให้สัตว์ป่าเหล่านั้นถูกทำร้ายและสูญพันธุ์ในบริเวณเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่า และอุทยานแห่งชาติ
-กิจกรรมการดูนก ส่องสัตว์ในบริเวณดังกล่าว สำหรับนักท่องเที่ยวจึงมีความจำเป็นและเกี่ยวโยงกับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
3. พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507, 2522 และ 2528
-เกี่ยวข้องกับการจัดการดูแลพื้นที่บริเวณที่เป็นป่าสงวน
-ซึ่งปัจจุบันสถานที่ท่องเที่ยวในหลายพื้นที่ยังคงอยู่ในอำนาจหน้าที่ของพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ
4. พระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484, 2522 และ 2525
เกี่ยวกับการพัฒนาและอนุรักษ์ทรัพยากรการท่องเที่ยวประเภทธรรมชาติ
-ควบคุมการตัดไม้ ทำไม้ และของป่าหวงห้าม รวมทั้งควบคุมการนำไม้และของป่าเคลื่อนออกจากป่า
-เพื่อมิให้มีการตัดไม้และทำลายไม้โดยไม่จำเป็น และสงวนไม้มีค่าบางชนิดเอาไว้
-มีส่วนช่วยในการอนุรักษ์สภาพแวดล้อมของป่าให้ยั่งยืน
5. พระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510, 2522 และ 2534
-การสำรวจแร่หรือทำเหมือง ถ้าพบโบราณวัตถุหรือซากดึกดำบรรพ์หรือแร่พิเศษอันมีคุณค่าแก่การศึกษาในทางธรณีวิทยา จะต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายเกี่ยวกับการเก็บได้ซึ่งวัตถุนั้น และผู้ถืออาชญาบัตรหรือผู้ถือประทานบัตรชั่วคราว หรือผู้ถือประทานบัตรจะต้องแจ้งต่อทรัพยากรธรณีประจำท้องถิ่น
-มีส่วนในการช่วยอนุรักษ์ทรัพยากรการท่องเที่ยวเช่นกัน
6. ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2520
-การสำรวจและทำสำมะโนที่ดินเพื่อให้ทราบถึงความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติ และความเหมาะสมแก่การทำประโยชน์ของรัฐและประชาชน
-กระทรวงมหาดไทยได้อาศัยมาตรา 9 (2) ออกประกาศลงวันที่ 21 พฤษภาคม 2523 มิให้มีการทำลาย หรือทำให้เสื่อมสภาพในบริเวณที่เขาหรือภูเขา และปริมณฑลรอบที่เขาหรือภูเขาสูง 40 เมตร บริเวณแม่น้ำลำคลอง รวมถึงที่ดินของรัฐที่มิได้มีบุคคลผู้ใดมีสิทธิครอบครองเฉพาะบริเวณที่ดินที่เป็นหิน ที่กรวด หรือที่ทราย
7. พระราชบัญญัติวัฒนธรรมแห่งชาติ พ.ศ.2485 เป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการรักษาและอนุรักษ์ประเพณีและศิลปวัฒนธรรม ความเป็นเอกลักษณ์ของชาติให้คงอยู่สืบไปซึ่งกิจกรรมประเพณีและศิลปวัฒนธรรมจัดเป็นสินค้าทางการท่องเที่ยวที่สำคัญ การดำเนินการใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับศิลปวัฒนธรรมเพื่อการท่องเที่ยวจึงจำเป็นต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติวัฒนธรรมแห่งชาติ
8.พระราชบัญญัติรักษาคลอง รศ. 121เกี่ยวข้องกับการกำกับดูแลและจัดการกับพื้นที่บริเวณเกาะรัตนโกสินทร์ให้อยู่ในสภาพดีและเหมาะสม ปัจจุบันบริเวณเกาะรัตนโกสินทร์ถือเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญในกรุงเทพมหานคร ดังนั้นการดำเนินการใดๆในพื้นที่แห่งนี้ต้องถือปฏิบัติตามพระราชบัญญัติเกาะรัตนโกสินทร์
9. พระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุและพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ พ.ศ.2535
เป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการขึ้นทะเบียน การกำกับดูแลโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และป้องกันการค้าโบราณวัตถุหรือศิลปวัตถุที่ผิดกฎหมาย การจัดตั้งอุทยานประวัติศาสตร์
-ระบุให้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเป็นที่เก็บรักษาโบราณวัตถุหรือศิลปวัตถุอันเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินให้เป็นระเบียบเรียบร้อย สะอาด และมีการรักษาความปลอดภัยอย่างเข้มงวด
-เนื่องจากพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติจัดเป็นสถานที่ท่องเที่ยวทางศิลปวัฒนธรรมการดำเนินการใดๆจึงต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติฉบับนี้อย่างเคร่งครัด
10. พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2535
การควบคุมมลพิษ เช่น มลพิษทางอากาศ เสียง ทางน้ำ ของเสียอันตรายฯลฯ
การส่งเสริมรักษาและกำหนดมาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อม เช่น มาตรฐานคุณภาพน้ำในแม่น้ำ คลอง ชายฝั่งทะเล มาตรฐานคุณภาพอากาศ มาตรฐานระดับเสียงและความสั่นสะเทือน ฯลฯ
การกำหนดมาตรฐาน ควบคุมการระบายน้ำทิ้งจาก โรงแรม อาคารชุด หอพักฯลฯ ในแหล่งท่องเที่ยวและควบคุมมลพิษจากแหล่งที่อื่นที่อาจจะส่งผลต่อแหล่งท่องเที่ยวที่อยู่ใกล้เคียง
11. พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 และ 2535
ควบคุม ดูแลกิจกรรมต่างๆ ของคณะสงฆ์ ซึ่งรวมถึงที่ดินของวัดอันเป็นที่ตั้งของทรัพยากรการท่องเที่ยวประเภทศาสนสถานและโบราณสถาน
ห้ามแย่งการครอบครองหรือครอบครองปรปักษ์ที่วัด (คือ ที่ซึ่งตั้งวัดตลอดจนเขตของวัดนั้น) หรือที่ธรณีสงฆ์ (คือ ที่ซึ่งเป็นสมบัติของวัด) นั้น และไม่ให้ที่วัดหรือที่ธรณีสงฆ์ตกอยู่ในข่ายของการบังคับคดี คือ ใครจะยึดไปขายทอดตลาดชำระหนี้ไม่ได้ เท่ากับทำให้วัดซึ่งเป็นที่ตั้งของศาสนสถานและโบราณสถานต่างๆ ยังคงดำรงอยู่ตลอดไป
ห้ามมิให้เจ้าอาวาสหรือผู้แทนโอนที่ดินไปให้บุคคลใดได้ตามใจชอบ
วัดและวัดร้างที่ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานยังต้องอยู่ในความควบคุมของพระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ. 2535 การก่อสร้างอาคารต้องได้รับการอนุญาตจาก...............
12. พระราชบัญญัติสุสานและฌาปนสถาน พ.ศ. 2528
กำหนดให้มีการเผาศพ หรือฝังศพในสุสานและฌาปนสถานสาธารณะหรือเอกชนที่ได้มีผู้ดำเนินการอนุญาตจัดตั้งเท่านั้น จะไปเผาศพหรือฝังศพที่อื่นไม่ได้ เช่น ในที่ป่าไม้ ที่ภูเขา ที่น้ำตก ถ้ำ ฯลฯ ที่มีลักษณะเป็นทรัพยากรการท่องเที่ยว เพราะจะทำให้ภูมิทัศน์ของพื้นที่เหล่านั้นเสียไป รวมไปถึงการก่อให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับด้านสาธารณสุข คือ อาจเป็นอันตรายในทางอนามัยแก่ประชาชนทั่วไปได้
ห้ามมิให้เปลี่ยนแปลง ต่อเติมสุสานและฌาปนสถานสาธารณะหรือของเอกชน เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ข้อห้ามเช่นนี้มีประโยชน์ต่อทรัพยากรการท่องเที่ยวที่เป็นสุสาน เช่น สุสานทหารสัมพันธมิตร จ.กาญจนบุรี สุสานสงครามช่องไก่ จ.กาญจนบุรี หรือสุสานเจ้าเมืองระนอง จ.ระนอง
13. พระราชบัญญัติว่าด้วยลักษณะฐานะของวัดบาทหลวงโรมันคาทอลิกในกรุงสยามตามกฎหมาย ร.ศ. 128
กำหนดหลักเกณฑ์ในการที่จะให้มิสซังกรุงเทพ และมิสซังหนองแสง (นครพนม) ถือที่ดินในประเทศไทยเพื่อก่อตั้งวัดบาทหลวงและสถานที่พักสอนศาสนา
วัดและสิ่งก่อสร้างทางศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกบางแห่งสร้างแบบสถาปัตยกรรมของยุโรป เช่น วัดอัสสัมชัญที่บางรัก หรือโบสถ์คาทอลิกในโรงเรียนสตรีมารดาพิทักษ์ใน จ.จันทบุรี สร้างขึ้นแบบสถาปัตยกรรมกอธิค เป็นต้น
เป็นทรัพยากรการท่องเที่ยวอีกประเภทหนึ่งที่นักท่องเที่ยวต้องการจะดูและศึกษาถึงการก่อสร้าง ประวัติความเป็นมา และความสวยงามของศาสนสถานนั้นๆ
14. พระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 และ 2528
ควบคุม และดูแลทางด้านการประมง อนุรักษ์ที่จับสัตว์น้ำ เช่น กว๊านพะเยา บึงบรเพ็ด ทะเลสาบสงขลา หรือท่าน้ำหน้าวัดต่างๆ ที่มีปลาอาศัยอยู่ เช่น วัดไร่ขิง จ.นครปฐม วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี เป็นต้น
ช่วยอนุรักษ์ทรัพยากรการท่องเที่ยว เช่น ห้ามมิให้บุคคลใดทำการประมงหรือเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่รักษาพืชพันธุ์ (คือที่จับสัตว์น้ำซึ่งอยู่ในบริเวณพระอารามหรือปูชนียสถาน หรือติดกับเขตสถานที่ดังกล่าว บริเวณประตูระบายน้ำ ฝาย หรือทำนบ) ห้ามเปลี่ยนแปลงสภาพของที่จับสัตว์น้ำหรือปลูกสร้างสิ่งใดหรือปลูกพืชพันธุ์ไม้ใดๆ ลงในที่จับสัตว์น้ำ ห้ามใช้วัตถุระเบิดหรือห้ามก่อภาวะมลพิษในแหล่งน้ำ เป็นต้น
15. พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ.2512, 2522 และ 2535
เป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการการสร้างโรงงานและการจัดการโรงงาน เพื่อลดการส่งผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมต่อแหล่งท่องเที่ยว และในบริเวณใกล้เคียงแหล่งท่องเที่ยว
โรงงานสุรา..............................................................
16. พระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบของชานเมือง พ.ศ.2535
เป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการรักษาความสะอาดในพื้นที่ต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตกรุงเทพฯ พัทยา และเทศบาลซึ่งพื้นที่ต่างๆ เหล่านี้อาจรวมถึงบริเวณแหล่งท่องเที่ยวด้วย
17. พระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ.2518, 2525 และ 2535 และพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522, 2535 และ 2543
-เกี่ยวข้องกับการก่อสร้างอาคารบริเวณแหล่งท่องเที่ยว การจัดการด้านผังเมือง การกำหนดเขตต่างๆในแหล่งท่องเที่ยว

4.กฎหมายควบคุมเกี่ยวกับธุรกิจการท่องเที่ยว 22 ฉบับ
1. พระราชบัญญัติธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ พ.ศ.2535
-การกำกับดูแลเรื่องของการจัดตั้ง ควบคุมการดำเนินงาน รวมทั้งการกำหนดบทลงโทษสำหรับธุรกิจนำเที่ยวเฉพาะพื้นที่ธุรกิจนำเที่ยวในประเทศ และธุรกิจนำเที่ยวต่างประเทศ เพื่อให้การประกอบธุรกิจนำเที่ยวได้มาตรฐาน และไม่เป็นการเอารัดเอาเปรียบนักท่องเที่ยว กำกับดูแลในเรื่องของการขอรับใบอนุญาตการขอต่ออายุ หรือยกเลิกการเป็นมัคคุเทศก์ทั่วไปและมัคคุเทศก์เฉพาะด้วย เนื่องจากมัคคุเทศก์เป็นผู้มีบทบาทสำคัญในอันที่จะสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศ จึงจำเป็นต้องมีการควบคุมเพื่อให้ผู้ประกอบอาชีพนี้มีจรรยาบรรณแห่วิชาชีพอย่างแท้จริง

-การจัดตั้งสำนักงานทะเบียนธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ในแต่ละภูมิภาค
2. พระราชบัญญัติโรงแรม พ.ศ.2547
-เกี่ยวข้องกับการการสร้างโรงแรมในแหล่งท่องเที่ยว
-การควบคุมดูแลและการให้บริการแก่ผู้พักอาศัยของเจ้าของกิจการ
3. พระราชบัญญัติสถานบริการ พ.ศ.2509, 2521, 2525 และ 2546
-เกี่ยวข้องกับการการให้คำจำกัดความของสถานบริการประเภทต่างๆ เช่น สถานเต้นรำ สถานที่ที่มีอาหาร สุราจำหน่าย สถานอาบน้ำ นวดหรืออบตัวฯลฯ
- ระเบียบว่าด้วยการจัดตั้ง การควบคุมดูแล การให้บริการแก่ผู้รับบริการจากสถานบริการเหล่านั้นทั่วราชอาณาจักร
4. พระราชบัญญัติสาธารณสุข พ.ศ.2535
-ด้านความสะอาด ถูกสุขอนามัย เพื่อสนองแนวคิดเรื่อง Clean food good taste เป็นต้น
-มีบทบัญญัติที่เกี่ยวกับการให้อำนาจแก่ท้องถิ่นในการบริหารจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมของชุมชน
5. พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528,2537,2544
- เกี่ยวข้องกับการจัดหางานภายในประเทศ และการไปทำงานในต่างประเทศสาขาการท่องเที่ยวของบริษัทจัดหางานให้ดำเนินการถูกต้องตามกฎหมาย
6. พระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ.2535
- เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการลงทุนในธุรกิจต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว
7. พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2520,2534 และ 2544
- เกี่ยวข้องกับการทำธุรกิจด้านโฆษณาของธุรกิจต่างๆในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
8. พระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ.2511 ถึง 2548
-กำหนดมาตรฐานการจัดทำผลิตภัณฑ์ต่างๆ ในเชิงอุตสาหกรรม ซึ่งอาจเป็นสินค้าของที่ระลึกเพื่อการท่องเที่ยว เช่น ไวน์พื้นบ้าน สินค้าหัตถกรรมพื้นเมือง เป็นต้น
9. พระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย พ.ศ.2542
-เกี่ยวกับการคุ้มครองและส่งเสริมการแพทย์แผนไทย ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของการท่องเที่ยวที่เป็นเอกลักษณ์ของไทย เช่น นวดแผนโบราณ เป็นต้น
10. พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 และ 2541
-เป็นกฎหมายที่ใช้ในการคุ้มครองการบริโภคของบุคคลต่างๆ รวมถึงการคุ้มครองการบริโภค เช่น การซื้อของที่ระลึก ของนักท่องเที่ยว ซึ่งธุรกิจที่เกี่ยวข้องต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ.นี้
11. พระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ.2494 ถึง 2543
- การรถไฟแห่งประเทศไทย จะต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีก่อนจึงจะดำเนินกิจการตามที่กำหนดไว้ เช่น การสร้างทางรถไฟสายใหม่ เลิกกิจการในเส้นทางที่ปิดการเดินรถแล้ว ตั้งอัตราค่าโดยสาร เป็นต้น
- รฟท.ต้องไม่วางระเบียบ ตลอดจนกำหนดอัตราค่าขนส่งอันจะเป็นการขัดกับนโยบายของคณะรัฐมนตรีในทางเศรษฐกิจการคลัง โดยได้รับการยกเว้นจากการเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
12. พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ.2522 ถึง 2546
-กำหนดให้ผู้ประกอบการขนส่งประจำทาง ไม่ประจำทาง การขนส่งโดยรถขนาดเล็ก การขนส่งส่วนบุคคล การรับจัดการขนส่ง และสถานีขนส่งต้องได้รับอนุญาตจากนายทะเบียน
-รถที่ใช้ในการประกอบการขนส่งผู้โดยสารต้องจดทะเบียนเสียภาษี และผ่านการตรวจสภาพเพื่อความมั่นคงแข็งแรงจากพนักงานตรวจสภาพรถหรือจากสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตจากทางราชการ
- ผู้ประจำรถ ได้แก่ ผู้ขับรถ ผู้เก็บค่าโดยสาร นายตรวจ และผู้บริการตามที่กำหนดในกฎกระทรวงต้องได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียน
- ห้ามมิให้ผู้ได้รับอนุญาตประกอบการขนส่งเพิ่ม ลด หรือยกเว้นค่าขนส่งหรือค่าบริการอย่างอื่นในการขนส่ง เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการ
13. พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 ถึง 2542
-เกี่ยวกับการใช้รถ สัญญาณจราจร และเครื่องหมายจราจร การใช้ทางเดินรถ ข้อกำหนดเกี่ยวกับความเร็วของรถและอุบัติเหตุจากรถยนต์
14. พระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ.2522 ถึง 2547
- แบ่งรถยนต์ออกเป็น 3 ประเภท คือ รถยนต์สาธารณะ รถยนต์บริการ และรถยนต์ส่วนบุคคล
15. กฎหมายว่าด้วยทางหลวงตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 259 ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ.2515
-การรักษาทางหลวงให้คงทนถาวรและมีบทบัญญัติกำหนดประเภทและชนิดของทางหลวง การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางหลวง รวมถึงประกาศกำหนดน้ำหนักบรรทุกสูงสุดของยานพาหนะที่ใช้บนทางหลวง
16. พระราชบัญญัติการท่าเรือแห่งประเทศไทยพ.ศ.2494 ถึง 2543
-การควบคุม ดูแลกิจการท่าเรือหรือธุรกิจเกี่ยวกับท่าเรือ ซึ่งหมายรวมถึงท่าเรือเพื่อการท่องเที่ยวด้วย
17. พระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย พ.ศ.2456 ถึง 2540
-การควบคุมดูแล การจัดระเบียบการเดินเรือสมุทรเพื่อการท่องเที่ยวและกิจการท่องเที่ยวทางน้ำประเภทต่างๆ
18. ประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 68 ลงวันที่ 3 มกราคม พ.ศ.2515
- มาตรการป้องกันและปราบปรามการใช้แม่น้ำลำคลองเป็นที่จอดเรือเพื่อพักอาศัยโดยไม่เคลื่อนที่เป็นเวลานานจนก่อให้เกิดความสกปรกรกรุงรัง
19. พระราชบัญญัติเรือไทย พ.ศ.2481 ถึง 2540
 การออกทะเบียนเรือสำหรับการค้าในน่านน้ำไทย การโอนกรรมสิทธิ์เรือการจำนองและบุริมสิทธิอันเกี่ยวกับเรือ ชื่อเรือ การเปลี่ยนแปลงเรือ และการเปลี่ยนแปลงเมืองท่าขึ้นทะเบียน
20. พระราชบัญญัติป้องกันเรือโดนกัน พ.ศ.2522 เป็น
- การใช้และการห้ามใช้โคมไฟ การใช้ทุ่นเครื่องหมาย การใช้เสียงสัญญาณสัญญาณเวลาอับจน การถือท้ายและการเดินเรือ รวมถึงกำหนดวิธี หลักการป้องกันเรือโดนกัน
21. พระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ.2497 ถึง 2542
-เกี่ยวข้องกับนักท่องเที่ยวในส่วนของการชำระค่าธรรมเนียมการใช้สนามบินของนักท่องเที่ยว
22. พระราชบัญญัติการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย พ.ศ.2522 ถึง 2538
-เกี่ยวกับการให้บริการท่าอากาศยาน และการอำนวยความสะดวกต่างๆ แก่ผู้ที่ใช้บริการท่าอากาศยาน แต่เดิมใช้หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ คือ “การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย” แต่ปัจจุบันตาม พ.ร.บ. ฉบับล่าสุด (พ.ศ.2538) ปรับจากรัฐวิสาหกิจเป็น “บริษัทมหาชนจำกัด”

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น